วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเขียนรายงานที่ดี




ก่อนเราจะทำรายงานทุกครั้งเราควรวางแผนการทำก่อนให้ดี ทั้ง คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป เพื่อที่เราจะได้รายงานที่ออกมาดี และควรทำดังนี้
  1. วางโครงเรื่องว่าจะเขียนเรื่องใด และเรื่องนั้น เราจะเขียนหัวข้ออะไรบ้าง
  2. ศึกษาเนื้อเรื่องที่เราจะทำรายงาน ให้เข้าใจเรื่องนั้นให้ดีก่อน
  3. สรุปเนื้อหาจะต้องกระชับได้ใจความ
  4. ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของภาษา
  5. จัดรูปแบบหน้า เว้นขอบ บน ล่าง ซ้าย ขวา  และเรียงลำดับแต่ละหน้าให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนรายงาน


Cr. รูปแบบรายงาน.com

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน


การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้
  1. หน้าปก –> คลิ๊กอ่านรายละเอียด
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  5. สารบัญ (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  6. เนื้อเรื่อง (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  7. บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  8. ภาคผนวก (คลิ๊กอ่านรายละเอียด)
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง


การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้
  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
หมายเหตุ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร สอนการตั้งค่าหน้ากระดาษ



Cr. รูปแบบรายงาน.com

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) IS 30202

ประวัติอินเทอร์เน็ตและอินเตอร์เน็ตในไทย



ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต


ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัว ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหม จึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced Research Projects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA 

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา (Cooperative network of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครงการวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ชื่อว่า ARPANET จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANET ได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่ง เข้าด้วยกัน 

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANET ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ถึง ๒๓ เครื่อง 

จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคน เริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้ 

แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้าง เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโปรโตคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โปรโตคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการ ARPANET ได้นำโปรโตคอล TCP/IP ไปใช้ 

การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัย และพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆ เข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) 

ต่อมาการบริหาร และดำเนินงานเครือข่าย ได้รับการสนับสนุน จากมูลนิธิการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่า NSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลาง ที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการ จนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย


สำหรับในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยง เพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแส การเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IP ตามมาตรฐานนี้ มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรส ให้แก่เครือข่าย และเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้น เพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address)

ไอพีแอดเดรสทุกตัว จะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลก การกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลข ให้แก่เครือข่าย 

ผู้ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จะเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ต โดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน สามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆ ได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้าน สามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้าน ต่อผ่านโมเด็ม มาที่เครื่องหลัก หลังจากนั้น ก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆ ได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้าน จะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย หรือติดต่อกับเพื่อนๆ ได้ ทั้งในมหาวิทยาลัย และต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศ 

อินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่า ในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย สามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมโยงกันในประเทศ ซึ่งจัดการโดยหน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider) หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต 

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร (THAISARN - THAI Social / Scientific, Academic and Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศ ทำให้ทุกเครือข่ายย่อย สามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้


*****************************************

Cr : เว็บไซต์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  https://goo.gl/49Br3F




อินเตอร์เน็ต คืออะไร


อินเตอร์เน็ต คืออะไร

ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า อินเตอร์เน็ต” เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลังสั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทย เป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน
                การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายในครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถกระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น

1.  ความหมายของอินเตอร์เน็ต
                “อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
                คำว่า เครือข่าย” หมายถึง
                1.  การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรงและหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
                2.  มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
                3.  มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
               
2.  หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
                การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
                อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
                เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
                1.  การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
                2.  อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
                3.  อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
                คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace

3.  อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
                ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
                สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailandบริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfoเป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
                1.  อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
                2.  คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
                3.  ความเร็วของสายที่ใช้
                4.  พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร

**********************************************

Cr. http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/winter.htm




วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เกณฑ์การให้คะแนน IS2






ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง IS2



ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
รายวิชา การสืบค้นข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต

รหัสวิชา IS 30202

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                     หน่วยการเรียน  1.0 หน่วยกิต
______________________________________

1. อธิบายความรู้พื้นฐานของอินเตอร์เน็ตได้
2. บอกประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตพื้นฐานได้
3. อธิบายรูปแบบการบริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
4. อธิบายความหมายของ World Wide Web ( WWW ) ได้
5. บอกประโยชน์การสืบค้นข้อมูลได้
6. บอกชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ในประเทศไทยได้
7. บอกชื่อเว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ต่างประเทศได้
8. บอกประเภทการสืบค้นข้อมูลได้
9. แยกประเภท Search Engine ตามประเภทของการสืบค้นได้
10. บอกความหมายของ Search Engine ได้
11. สามารถใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นได้
12. ผู้เรียนสามารถใช้เว็บไซต ์ (Search Engine) ในการสืบค้นข้อมูลได้
13. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจการสืบค้นข้อมูล
14. ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล ตัวอักษร (Text) ได้
15. ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูล รูปภาพ (Image) ได้
16. ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลชนิดอื่น ๆ ได้
17. ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลโดยใช้เทคนิคชั้นสูงได้
18. ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากการสืบค้นข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อการเรียนได้
19. ผู้เรียนมีจรรยาบรรณในการสืบค้นข้อมูล
20. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการใช้อินเตอร์เน็ต



คำอธิบายรายวิชา IS2

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา การสืบค้นข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต
รหัสวิชา IS 30202

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                     หน่วยการเรียน  1.0 หน่วยกิต
______________________________________

               ศึกษาประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต บทบาทความสำคัญ ความก้าวหน้า ของเทคโนโลยี World Wide Web (WWW) และประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร ์หรืออินเตอร์เน็ต มีความรู้ความเข้าใจการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถสืบค้นข้อมูลรูปแบบต่างๆ ได้
               มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต สร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบ อีกทั้งยังมีเจตคติที่ดี ต่อระบบอินเตอร์เน็ต มีจรรยาบรรณในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือสร้างความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต