Cr. โดย ครูเชาวพันธุ์ พลชะตินhttp://ponchatin.blogspot.com/2014/01/blog-post_9630.htmlการทำรายงานที่ถูกต้อง
การทำรายงานที่ถูกต้อง
ในคราวนี้ครูขอมาอธิบาย เรื่องการทำรายงานที่ถูกต้องให้นักเรียนและผู้ที่สนใจได้ทราบ ซึ่งทั้งตัวนักเรียนและผู้สนใจมักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่บ่อยครั้ง ทำให้คะแนนที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะได้รับ นักเรียนบางคนเนื้อหารายงานดีอีกทั้งวลีการเขียนดีเยี่ยมแต่รูปแบบผิดเพี้ยนไปหมด ฉะนั้นในคราวนี้ครูจึงขออธิบาย "รูปแบบการเขียนรายงานที่ถูกต้อง" เพื่อที่นักเรียน และผู้ที่สนใจจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในคราวต่อๆไปครับ
รูปแบบการเขียนรายงานที่ถูกต้อง
ส่วนประกอบรายงาน
1. ปกนอก
2. ปกรอง (กระดาษเปล่าสีขาว)
3. ปกใน (เหมือนปกนอกทุกประการแต่ใช้กระดาษขาว)
4. คำนำ
5. สารบัญ
6. เนื้อหา
7. บรรณานุกรม หรือแหล่งอ้างอิง
8. ภาคผนวก (ในที่นี้ให้รอคำสั่งจากครูว่าจะให้ใส่อะไรในภาคผนวก)
9. ปกรองหลัง (กระดาษเปล่าสีขาว)
10. ปกหลัง
การจัดระยะขอบ หรือจัดกั้นหน้า - กั้นหลัง
กั้นหน้า ระยะขอบเท่ากับ 3.17 cm
กั้นหลัง ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm
ขอบบน ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm หรือ 3.00 cm
ขอบล่าง ระยะขอบเท่ากับ 2.5 cm หรือ 2.00 cm
รูปแบบของปก
ปกจะประกอบด้วยข้อความ 4 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 คือชื่อเรื่องรายงาน
ส่วนที่ 2 คือชื่อผู้จัดทำรายงาน
ส่วนที่ 3 คือเสนอใคร
ส่วนที่ 4 คือบอกถึงรายงานฉบับนี้เป็นของวิชาอะไร ภาคเรียนและปีการศึกษาใด โรงเรียนอะไร
ข้อความทั้ง 4 ส่วน ให้มีการเว้นระยะห่างของแต่ละส่วนให้เท่า ๆ กัน
ข้อความส่วนที่ 1 อาจมีขนาดอักษรที่ใหญ่กว่าข้อความส่วนอื่น ๆ ก็ได้
ข้อความในส่วนที่ 2 – 3 ควรใช้ขนาดอักษรที่เท่ากัน
สำหรับข้อความในส่วนที่ 4 ขนาดอักษรอาจมีขนาดเท่ากับส่วนที่ 2 และ 3 หรืออาจจำเป็นต้องมีขนาดอักษรที่เล็กกว่าส่วน 2 – 3 เล็กน้อย
ดังตัวอย่าง รูปแบบของปกรายงานที่ถูกต้อง ดังนี้
ขอแนบไฟล์ โลโก้โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษาไว้ให้นักเรียนของครูน่ะครับ
ขอแนบไฟล์ โลโก้โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษาไว้ให้นักเรียนของครูน่ะครับ
หมายเหตุ (..........)การบอกขนาดของฟร้อนที่ใช้ แนะนำให้ใช้ฟร้อนที่ทางราชการบังคับใช้ทั้ง 13 ฟร้อน น่ะครับจะได้เป็นเอกสารที่สามารถอ้างอิงทางวิชาการได้ต่อไปภาย-ภาคหน้า ภายในวงเล็บ และข้อความทั้งวงเล็บ เมื่อกรอกเสร็จสิ้นให้นักเรียนลบออก เหลือเพียงข้อความสำคัญเท่านั้น
1. เนื้อหา ของเรื่องรายงาน มีข้อกำหนดดังนี้
- ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง (มักจะอยู่ที่หน้าแรกของเนื้อหารายงาน) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย ใช้ ชิดซ้าย เหมือนกันทั้งฉบับ
- ข้อความที่เป็นเนื้อหา หรือเนื้อเรื่องใช้ เหมือนกันทั้งฉบับ
- รูปแบบอักษรให้ใช้แบบเดียวกันทั้งฉบับ
- สีอักษร โดยทั่วไปและแบบเป็นทางการจะใช้สีดำ
- เนื้อหาในบางส่วนจำเป็นต้องมีรูปภาพมาประกอบเพื่อจะได้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งจะต้องใช้รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายงาน
ซึ่งจะต้องใช้รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายงาน
- ข้อความเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ให้ขึ้นต้นบรรทัดใหม่และมีการย่อหน้า
- ในส่วนของการย่อหน้าให้ย่อหน้าเท่ากันทั้งฉบับ
- ข้อความเนื้อหาที่เป็นการจัดเรียงลำดับเลขข้อ หรือเลขข้อย่อยก็ควรใช้ในรูปแบบที่เหมือนกันและจัดย่อหน้าให้เท่ากัน ย่อหน้าเป็นระดับชั้นที่ถูกต้องด้วย
- ให้ใส่เลขหน้าในรายงานด้วยเพื่อจัดทำสารบัญ โดยจัดวาง และใช้รูปแบบเดียวกันทั้งฉบับ
ตัวอย่างเนื้อหารายงาน
|
|
ข้อสังเกตที่ครูมักตรวจพบเสมอ
(ข้อความที่สำคัญต้องมีการขีดเส้นใต้สีข้อความต่างจากข้อความอื่นๆ)
นักเรียนต้องอ่านตรวจสอบถึงความสัมพันธ์ของข้อความในแต่ละวรรคตอน ตรวจสอบคำถูก คำผิด ให้ถี่ถ้วนก่อนส่งงานทุกครั้ง
ฉะนั้นขอให้นักเรียนได้ตรวจสอบให้ดีและรอบคอบก่อนส่งครูทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นวิชาใดก็ตามนักเรียนควรจัดทำรายงานให้เป็นมาตรฐานหรือมีรูปแบบที่เป็นสากล เพื่อแสดงให้เห็นถึงภูมิความรู้ที่นักเรียนมีอยู่ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์จริงเป็นที่ประจักชัด
ขอให้เป็นนักเรียนที่น่ารักของครูทุกคนครับ และหวังว่านักเรียนจะนำข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในโอกาสต่อ ๆ ไปได้ครับ อีกทั้งได้คะแนนดีเยี่ยม เกรด 4 กันทุกคนน่ะครับ
นักเรียนสามารถไปดาวโหลดฟร้อนราชการทั้ง 13 ฟร้อน ได้ที่
http://www.sipa.or.th/
ตัวอย่าง เช่น TH SarabunPSK Regular ฟอนต์แห่งชาติและแบบแสดงตัวอย่างฟอนต์แห่งชาติ เป็นฟอนต์ฟรีแวร์แจกฟรี สำหรับใช้งานเอกสาร และงานด้านกราฟิก โดยนักเรียนและท่านผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ทั้งบนระบบ Windows และ ระบบ Open source THAI OS Ubuntu และ mac OSx นักเรียนสามารถดาวน์โหลดใช้งานจากลิ้งค์ทางด้านล่างนี้
การดาวน์โหลด 13 ฟอนต์มาตรฐานราชการไทย
วิธีการติดตั้งและการดาวน์โหลดฟอนต์
การติดตั้งฟอนต์ ใน Microsoft Windows XP
การติดตั้งฟอนต์ ใน Microsoft Windows 7
วิธีเพิ่มความชัดของการใช้ Font ใน Microsoft Windows XP